บทที่ 1 เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
เทคโนโลยีสารสนเทศ
หมายถึงการประยุกต์เอาความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาจัดการสารสนเทศที่ต้องการโดย
อาศัยเครื่องทางเทคโนโลยีใหม่ๆ เช่น เทคโนโลยีด้านคอมพิวเตอร์
ตลอดจนกระบวนการดำเนินงานสารสนเทศ ตั้งแต่การเก็บรวบนวมข้อมูล การประมวลผล
การแสดงผลลัพธ์ การทำสำเนา และการสื่อสารโทรคมนาคม เพื่อให้ได้สารสนเทศ
และสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้
องค์ประกอบของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ
1. เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถจดจำข้อมูลต่าง
ๆ และปฏิบัติตามคำสั่งที่บอก เพื่อให้คอมพิวเตอร์ทำงานอย่างใดอย่างหนึ่งได้
คอมพิวเตอร์นั้นประกอบด้วยอุปกรณ์ต่าง ๆ ต่อเชื่อมกันเรียกว่า ฮาร์ดแวร์ (Hardware) และอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์นี้จะต้องทำงานร่วมกับโปรแกรมคอมพิวเตอร์หรือที่เรียกกันว่า
ซอฟต์แวร์ (Software) (มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 2546: 4)
2. เทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคม
ใช้ในการติดต่อสื่อสารรับ/ส่งข้อมูลจากที่ไกล
ๆ เป็นการส่งของข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์หรือเครื่องมือที่อยู่ห่างไกลกัน
ซึ่งจะช่วยให้การเผยแพร่ข้อมูลหรือสารสนเทศไปยังผู้ใช้ในแหล่งต่าง ๆ
เป็นไปอย่างสะดวก รวดเร็ว ถูกต้อง ครบถ้วน และทันการณ์
ซึ่งรูปแบบของข้อมูลที่รับ/ส่งอาจเป็นตัวเลข (Numeric Data) ตัวอักษร (Text) ภาพ (Image) และเสียง (Voice) เทคโนโลยีที่ใช้ในการสื่อสารหรือเผยแพร่สารสนเทศ ได้แก่
เทคโนโลยีที่ใช้ในระบบโทรคมนาคมทั้งชนิดมีสายและไร้สาย เช่น ระบบโทรศัพท์, โมเด็ม, แฟกซ์, โทรเลข, วิทยุกระจายเสียง, วิทยุโทรทัศน์
เคเบิ้ลใยแก้วนำแสง คลื่นไมโครเวฟ และดาวเทียม เป็นต้น
สำหรับกลไกหลักของการสื่อสารโทรคมนาคมมีองค์ประกอบพื้นฐาน 3 ส่วน ได้แก่
ต้นแหล่งของข้อความ (Source/Sender), สื่อกลางสำหรับการรับ/ส่งข้อความ
(Medium), และส่วนรับข้อความ (Sink/Decoder) ดังแผนภาพต่อไปนี้ คือ
ประโยชน์ของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
1.ความเร็ว
การนำระบบคอมพิวเตอร์มาใช้จะช่วยให้การทำงานมีความรวดเร็วยิ่งขึ้น
ไม่ว่าจะเป็นการประมวลผล การค้นหาข้อมูลจะทำได้สะดวกรวดเร็ว
ประหยัดเวลาในการค้นหาข้อมูล เช่น การใช้ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ
2.ความถูกต้อง คอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
ที่มีการประมวลผลข้อมูลที่ถูกต้อง แม่นยำ
ทำให้ข้อมูลที่ได้จากการประมวลนั้นมีความผิดพลาดน้อยกว่าการประมวลผลด้วยมนุษย์
3.การเก็บบันทึกข้อมูล
ข้อมูลที่เก็บบันทึกในระบบคอมพิวเตอร์จะเป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์
ซึ่งมีสื่อที่ใช้ในการจัดเก็บข้อมูลทำให้มีความสามารถในการจัดเก็บข้อมูลได้จำนวนมากและมีความคงทนถาวรมากกว่าการจัดเก็บข้อมูลในรูปของกระดาษ
4. การเผยแพร่ข้อมูล
การรับส่งข้อมูลในปัจจุบันโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศจะทำให้การเผยแพร่ข้อมูลทำได้อย่างกว้างขวางสามารถแพร่กระจายไปได้ทั่วโลกอย่างไร้พรมแดน
แนวโน้มการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
1.ด้านอุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
เมื่อพิจารณาเครือข่ายการสื่อสารทั่วไปจากอดีตจนถึงปัจจุบัน
เห็นได้ชัดว่ามนุษย์ใช้อุปกรณ์การสื่อสารแบบพกพามากขึ้นเรื่อยๆ
เริ่มจากวิทยุเรียกตัว (pager) ซึ่งเป็นเครื่องรับข้อความ
มาเป็นถึงโทรศัพท์เคลื่อนที่ อุปกรณ์สื่สารชนิดนี้ได้ถูกพัฒนาจนสามารถใช้งานด้านอื่นๆได้
นอกจากการพูดคุยธรรมดา โทรศัพท์เคลื่อนที่รุ่นใหม่สามารถใช้ถ่ายรูป
ฟังเพลง ฟังวิทยุ ดูโทรทัศน์ บันทึกข้อมูงสั้นๆ บางรุ่นมีลักษณะเป็นเครื่องช่วยงานส่วนบุคคล (Personal Digital
Assistant : PDA) ซึ่งสามารถเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตได้
อีกทั้งยังมีหน้าจอแบบสัมผัส ทำให้สะดวกต่อการใช้งานมากขึ้น
บางรุ่นมีอุปกรณ์สไตลัส (stylus) คือ
ใช้ปากกาป้อนข้อมูลทางหน้าจอ บางรุ่นสามารถสั่งด้วยเสียง
ในอนาคตอันใกล้มนุษย์จะมีอุปกรณ์ที่ทันสมัยใช้กันมากขึ้น
นอกเหนือจากการพูดคุยแบบเห็นหน้าผ่านทางอินเตอร์เน็ต มนุษย์สามารถพูดคุยแบบเห็นหน้าผ่านทางโทรศัพท์มือถือ ทำให้สามารถติดต่อกันได้ด้วยค่าใช้จ่ายถูกลง สามารถส่งข้อความ
ภาพ และเสียง ได้โดยง่าย สะดวกรวดเร็ว
อีกทั้งยังค้นหาข้อมูลด้วยภาษาที่เป็นธรรมชาติมากขึ้นด้วยเว็บรุ่นที่สาม (Web 3.0)
ดังนั้นอุปกรณ์สำหรับเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในอนาคตมีแนวโน้มเป็นดังนี้
คือ มีขนาดเล็กลง พกพาได้ง่าย แต่มีปรัสิทธิภาพสูงขึ้น เช่น เก็บข้อมูลได้มากขึ้น
ประมวลผลได้เร็วขึ้น ใช้งานได้หลากหลายมากขึ้น
โดยมีการผนวกอุปกรณ์หลายๆอย่างไว้ในเครื่องเดียว(all-in-one) ที่สำคัญอุปกรณ์เหล่านี้ต้องใช้งานง่ายขึ้น
รวมถึงสามารถสั้งการด้วยเสียงได้ นอกจากนี้ ยังมีระบบรักศาความปลอดภัยที่ดีขึ้น
โดยอาศัยหลายนิ้วมือหรือจ่อม่านตา แทนการพิมรหัสผ่านแบบในปัจจุบัน
แนวโน้มการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
1.ด้านอุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
มนุษย์ใช้อุปกรณ์การสื่อสารแบบพกพามากขึ้นเรื่อย ๆ
เริ่มจากวิทยุเรียกตัว (pager) เป็นเครื่องรับข้อความ
มาเป็นโทรศัพท์เคลื่อนที่ อุปกรณ์สื่อสารชนิดนี้ได้ถูกพัฒนาจนสามารถใช้งานด้านอื่น ๆ ได้ นอกจากการพูดคุยธรรมดา โทรศัพท์เคลื่อนที่รุ่นใหม่สามารถใช้ถ่ายรูป
ฟังเพลง ฟังวิทยุ ดูโทรทัศน์ บันทึกข้อมูลสั้น ๆ
บางรุ่นมีลักษณะเป็นเครื่องช่วยงานส่วนบุคคล (Personal Digital
Assistant : PDA) สามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้
ระบบหน้าจอแบบสัมผัส บางรุ่นมีอุปกรณ์สไตลัส
(stylus) คือ ใช้ปากกาป้อนข้อมูลทางหน้าจอ บางรุ่นสามารถสั่งการได้ด้วยเสียง ตัวอย่างอุปกรณ์สื่อสารและสารสนเทศ
แบบพกพาวิทยุเรียกตัวโทรศัพท์เคลื่อนที่ เครื่องช่วยงานส่วนบุคคล (PDA) เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในอนาคตมีแนวโน้มเป็นดังนี้
คือ มีขนาดเล็กลง พกพาได้ง่าย แต่มีประสิทธิภาพสูงขึ้น
เช่น เก็บข้อมูลได้มากขึ้น
ประมวลผลได้เร็วขึ้น ใช้งานได้หลากหลายมากขึ้น
โดยมีการผนวกอุปกรณ์หลาย ๆ อย่างไว้ในเครื่องเดียว (all – in – one)
2.ด้านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ในอดีตมักเป็นระบบที่ใช้คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์เชื่อมต่อตรงเพียงชุดเดียว
(Stand alone) ต่อมามีการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกันภายในองค์กร
เพื่อทำให้สามารถใช้ข้อมูลร่วมกัน หรือใช้เครื่องพิมพ์ร่วมกัน
จนเกิดเป็นระบบรับและให้บริการ หรือที่เรียกว่าระบบรับ
– ให้บริการ (client – server system) โดยมีเครื่องให้บริการ (server) และเครื่องรับบริการ
(client)เมื่อการใช้งานอินเทอร์เน็ตเป็นไปอย่างแพร่หลาย
การพัฒนาระบบเครือข่ายเพื่อให้ผู้ใช้สามารถสื่อสารและแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้โดยตรง
โดยที่เครื่องให้บริการมีหน้าที่เพียงแค่เก็บตำแหน่งของเครื่องผู้ใช้งานที่มีข้อมูลนั้น
ๆ อยู่เพื่อให้เครื่องอื่นสามารถทราบที่อยู่ที่มีข้อมูลดังกล่าว และเข้าถึงข้อมูลนั้นได้ เรียกระบบแบบนี้ว่าเครือข่ายระดับเดียวกัน
(Peer – to –Peer network : P2P)
ปัจจุบันมีการใช้แลนไร้สาย (wireless LAN) ในสถาบันการศึกษา และองค์กรหลายแห่งการให้บริการแลน
ไร้สาย หรือไวไฟ (Wi – Fi) ตามห้างสรรพสินค้า ร้านขายเครื่องดื่ม
หรือห้องรับรองของโรงแรมใหญ่ ๆ
นอกจากนี้ยังมีการใช้เทคโนโลยีในการติดตามตำแหน่งรถด้วยจีพีเอส (Global
Positioning System : GPS) กับรถแท็กซี่
3.ด้านเทคโนโลยี
ระบบทำงานอัตโนมัติที่สามารถตัดสินใจได้เองจะเข้ามาแทนที่มากขึ้น
เช่น ระบบแนะนำเส้นทางจราจร
ระบบจอดรถ ระบบตรวจหาตำแหน่งของวัตถุ
ระบบควบคุมความปลอดภัยภายในอาคาร ระบบที่ทำงานอัตโนมัติเช่นนี้
อาจกลายเป็นระบบหลักในการดำเนินการของหน่วยงานต่าง ๆ
พีเอ็นดี (Personal Navigation
Device : PND) เป็นอุปกรณ์เพื่อช่วยในการนำทาง
เสมือนผู้นำทาง บนท้องถนนเพื่อให้เกิดความคล่องตัว ค้นหาเส้นทางไปยังจุดหมายได้อย่างถูกต้อง และรวดเร็ว
เทคโนโลยีอาร์เอฟไอดี (Radio Frequency
Identification : RFID) ใช้คลื่นวิทยุเพื่อระบุเอกลักษณ์ของวัตถุ
ประกอบด้วยอุปกรณ์หลักสองส่วน คือ
ป้ายระบุอิเล็กทรอนิกส์ (electronics tag) และเครื่องอ่าน (reader)
ความเปลี่ยนแปลงจากการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
ความก้าวหน้าของอุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเป็นไปอย่างรวดเร็ว
เพื่อสนองความต้องการด้านต่างๆ ของผู้ใช้ในปัจจุบันซึ่งมีผู้ใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารทั่วโลกประมาณพันล้านคน
และเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทุกปี ผู้ใช้สามารถใช้งานอุปกรณ์ดังกล่าวได้ทุกที่ ทุกเวลา
จึงทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านต่างๆ ทั้งที่เกิดประโยชน์และโทษ เช่น
1) ด้านสังคม สภาพเหมือนจริง การใช้อินเทอร์เน็ตเชื่อมโยงการทำงานต่างๆ
จนเกิดเป็นสังคมที่ติดต่อผ่านทางอินเทอร์เน็ต หรือที่รู้จักกันว่า ไวเบอร์สเปซ (cyber
space) ซึ่งมีกิจกรรมต่างๆ เช่น การพูดคุย การซื้อสินค้า
และการบริการ การทำงานผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทำให้เกิดสภาพที่เหมือนจริง (virtual) เช่น เกมเสมือนจริง ห้องสมุดเสมือนจริง พิพิธภัณฑ์เสมือนจริง
ห้องประชุมเสมือนจริง และที่ทำงานเสมือนจริง
ซึ่งทำไห้ลดเวลาในการเดินทางและสามารถใช้งานได้ทุกที่ทุกเวลา
2) ด้านเศรษฐกิจ
เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารส่งผลให้เกิดสังคมโลกาภิวัฒน์(globalization) เพราะสามารถชมข่าว
ชมรายการโทรทัศน์ที่จะส่งกระจายผ่านดาวเทียมของประเทศต่างๆ ได้ทั่วโลก
สามารถรับรู้ข่าวสารได้ทันที ใช้อินเทอร์เน็ตในการติดต่อสื่อสารระหว่างกัน
ระบบเศรษฐกิจซึ่งแต่เดิมมีขอบเขตจำกัดภายในประเทศ ก็กระจายเป็นเศรษฐกิจโลก
เกิดกระแสการหมุนเวียนแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการอย่างกว้างขวางและรวดเร็ว
ระบบเศรษฐกิจของทุกประเทศในโลกจึงเชื่อมโยงและผูกพันกันมากขึ้น
3) ด้านสิ่งแวดล้อม เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
มีประโยชน์ในด้านธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เช่น ระบบป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง
โดยใช้ภาพถ่ายดาวเทียม หรือภาพถ่ายทางอากาศร่วมกับการจดเก็บรักษาข้อมูลระดับน้ำทะเล
ความสูงของคลื่นจากระบบเรดาร์ เป็นการศึกษาเพื่อหาสาเหตุ
และนำข้อมูลมาวางแผนและสร้างระบบเพื่อป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งแต่ละแห่งได้อย่างเหมาะสม
ตัวอย่างอาชีพทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
ตลาดแรงงานต้องการผู้ที่มีความรู้ความเข้าใจงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารอย่างแท้จริง
ซึ่งงานด้านนี้จะรวมถึง งานด้านการออกแบบโปรแกรมต่างๆ โปรแกรมใช้งานบนเว็บ
งานด้านการเขียนโปรแกรมภาษาคอมพิวเตอร์ งานด้านฐานข้อมูล งานด้านระบบเครือข่าย
ทั้งในและนอกองศ์กร รวมถึงการรักษาความมั่นคงปลอดภัยในระบบคอมพิวเตอร์
และระบบเครือข่าย ดังนั้นองศ์กรจึงมีความต้องการบุคลากรที่มีความรู้
ความสามารถในการบริหารจัดการ และพัฒนาซอฟต์แวร์ เพื่อใช้งานด้านต่างๆ ขององศ์กร
ตัวอย่างอาชีพด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เช่น
ทำหน้าที่ในการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อใช้ในงานด้านต่างๆ
เช่น โปรแกรมเกี่ยวกับการซื้อขายสินค้าโปรแกรมที่ใช้กับงานด้านบัญชี
หรือโปรแกรมที่ใช้กับระบบงานขนาดใหญ่ขององค์กร
นักวิเคราะห์ระบบ (System analyst) ทำหน้าที่ในการศึกษาวิเคราะห์และพัฒนาระบบสารสนเทศ
นักวิเคราะห์และพัฒนาระบบสารสนเทศ
นักวิเคราะห์ระบบจะทำการวิเคราะห์ระบบงานและออกแบบระบบสารสนเทศให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้งาน
ซึ่งอาจรวมถึงงานด้านการออกแบบฐานข้อมูลด้วย
ผู้ดูแลและบริหารฐานข้อมูล
(Database administrator) ทำหน้าที่บริหารและจัดการฐานข้อมูล(Database) รวมถึงการออกแบบ
บำรุงรักษาข้อมูล และการดูแลระบบความปลอดภัยของฐานข้อมูล เช่น การกำหนดบัญชีผู้ใช้
การกำหนดสิทธิ์ผู้ใช้
ผู้ดูแลและบริหารระบบ (System administrator)
ทำหน้าที่บริหารและจัดการระบบคอมพิวเตอร์ในองค์กร
โดยดูแลการติดตั้งและบำรุงรักษาระบบปฏิบัติการ การติดตั้งฮาร์ดแวร์
การติดตั้งและการปรับปรุงซอฟต์แวร์ สร้าง ออกแบบและบำรุงรักษาบัญชีผู้ใช้
สำหรับองค์กรขนาดเล็กเจ้าหน้าที่ควบคุมระบบอาจต้องดูแลและบริหารระบบเครือข่ายด้วย
ผู้ดูแลและบริหารระบบเครือข่าย
(Network administrator)
ทำหน้าที่บริหารและจัดการออกแบบระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
และดูแลรักษาความปลอดภัยของระบบเครือข่ายขององค์กร เช่น
ตรวจสอบการใช้งานเครือข่ายของพนักงานและติดตั้งโปรแกรมป้องกันผู้บุกรุกเครือข่าย
ผู้พัฒนาและบริหารระบบเว็บไซต์
(Webmaster)
ทำหน้าที่ออกแบบพัฒนา
ปรับปรุงและบำรุงรักษาเว็บไซต์ให้มีความทันสมัย
โดยเฉพะอย่างยิ่งต้องมีการปรับปรุงข้อมูลให้เป็นปัจจุบันอยู่เสมอ
เจ้าหน้าที่เทคนิค (Technician)
ทำหน้าที่ซ่อมบำรุงรักษาเครื่องคอมพิวเตอร์
ติดตั้งโปรแกรม หรือติดตั้งฮาร์ดแวร์ต่างๆ และแก้ไขปัญหาที่อาจเกิดจากการใช้งานอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ในองค์กร
นักเขียนเกม (Game maker)
ทำหน้าที่เขียนหรือพัฒนาโปรแกรมเกมคอมพิวเตอร์
ในปัจจุบันนี้การเขียนเกมคอมพิวเตอร์
เป็นอาชีพที่ได้รับความนิยมอย่างสูงในประเทศไทย
http://flukeloveskb.blogspot.com/2012/06/1.html
https://sites.google.com/site/kruyutsbw/prayochn-laea-tawxyang
องค์ประกอบของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ
ทำหน้าที่บริหารและจัดการระบบคอมพิวเตอร์ในองค์กร โดยดูแลการติดตั้งและบำรุงรักษาระบบปฏิบัติการ การติดตั้งฮาร์ดแวร์ การติดตั้งและการปรับปรุงซอฟต์แวร์ สร้าง ออกแบบและบำรุงรักษาบัญชีผู้ใช้ สำหรับองค์กรขนาดเล็กเจ้าหน้าที่ควบคุมระบบอาจต้องดูแลและบริหารระบบเครือข่ายด้วย
ทำหน้าที่บริหารและจัดการออกแบบระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ และดูแลรักษาความปลอดภัยของระบบเครือข่ายขององค์กร เช่น ตรวจสอบการใช้งานเครือข่ายของพนักงานและติดตั้งโปรแกรมป้องกันผู้บุกรุกเครือข่าย
นักเขียนเกม (Game maker)
http://flukeloveskb.blogspot.com/2012/06/1.html
https://sites.google.com/site/kruyutsbw/prayochn-laea-tawxyang
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น